มะปรางชื่อสามัญMaprang ,Marian plumชื่อวิทยาศาสตร์Bouae burmanica Griff.วงศ์ Anacardiaceaeถิ่นกำเนิดพม่าไทยลาวกัมพูชามาเลเซียลักษณะทางพฤกษศาตร์มะปรางเป็นไม้ผลเมืองร้อนไม้ยืนต้นที่มีผู้รู้จักแพร่หลายมีผลคล้ายฟองไข่นกพิราบเมื่อดิบมีสีเขียวอ่อนเมื่อแก่มีสีเหลืองมีทั้งรสเปรี้ยวรสหวานและรสเปรี้ยวอมหวาน(ขุนเกษตรสันทัด)ผลแก่ช่วงมีนาคม-เมษายน
ส่วนต่างๆของมะปรางมีลักษณะดังนี้-ลำต้นมะปรางเป็นไม้ผลที่มีทรงต้นค่อนข้างแหลมมีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบต้นโตมีขนาดสูง15-30เซนติเมตรมีรากแก้วแข็งแรง
-ใบ มะปรางเป็นไม้ผลที่มีใบมากใบเรียวขนาดใบโดยเฉลี่ยกว้าง3.5เซนติเมตรยาว14เซนติเมตรปีหนึ่งมะปรางจะแตกใบอ่อน1-3ครั้ง-ดอก มะปรางจะมีดอกเป็นช่อเกิดบริเวณปลายกิ่งแขนงช่อดอกยาว8-15เซนติเมตรเป็นดอกสมบูรณ์เพศ (เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน)ดอกบานจะมีสีเหลืองในไทยออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม-ผลมีลักษณะทรงกลมรูปไข่และกลมปลายเรียวแหลม มะปรางช่อหนึ่งมีผล1-15ผลผลดิบมีสีเขียวอ่อน-เขียวเข้มตามอายุของผลผลสุกมีสีเหลืองหรือเหลืองอมส้มเปลือกผลนิ่มเนื้อสีเหลืองแดงส้มออกแดงแล้วแต่ชนิดพันธุ์ รสชาติหวาน-อมหวานอมเปรี้ยวหรือเปรี้ยว-เปรี้ยวจัด-เมล็ดมะปรางผลหนึ่งจะมี1เมล็ดส่วนผิวของกะลาเมล็ดมีลักษณะเป็นเส้นใยเนื้อของเมล็ดทั้งสีขาวและสีชมพูอมม่วงรสขมฝาดและขมลักษณะเมล็ดคล้ายเมล็ดมะม่วงหนึ่งเมล็ดเพาะกล้าได้ 1 ต้น
มะปรางที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจคือกลุ่มของBouaeburmanicaแบ่งตามลักษณะของรสชาติแบ่งได้3ชนิดมะปรางเปรี้ยวหมายถึงมะปรางที่ออกผลมีรสเปรี้ยวจัดแม้แต่ผลสุกก็ตามมีทั้งผลเล็กและผลโตชาวสวนเรียกว่ากาวางการใช้ประโยชน์โดนการนำไปแช่อิ่มหรือดองมะปรางหวานมีผลขนาดเล็กถึงใหญ่เรียกรวมๆว่ามะปรางเป็นมะปรางหวานนั้นเองมะปรางต้นที่มีชื่อที่สุดคือต้นในวังสระประทุมและมะปรางหวานที่ต.ท่อิฐอ.ปากเกร็ดจ.นนทบุรี(มะปรางท่าอิฐ)มะยงสามารถแยกได้2ชนิดคือพวกที่มีรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อยเรียกว่ามะยงชิดและพวกที่มีรสหวานอมเปรี้ยวมากเรียกว่ามะยงห่าง
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกมะปรางน้ำและความชื้นสัมพัทธ์แหล่งที่จะปลูกมะปรางเป็นการค้านั้นควรมีฤดูฝนสลับกับฤดูแล้ง(หนาวและร้อน)ที่เด่นชัดเพราะในช่วงแล้งเป็นช่วงที่ช่วยให้มะปรางมีการพักตัวชะงักการเจริญเติบโตทางใบและกิ่งและช่วงดังกล่าวถ้ามีอุณหภูมิต่ำจะช่วยในมะปรางมีการออกดอกและติดผลดีการปลูกมะปรางควรเลือกพื้นที่ที่มีน้ำเพียงพอเพราะในระยะที่มีการออกดอกแลติดผลนั้นเป็นช่วงที่มีผลน้อยคือในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคมซึ่งช่วงดังกล่าวต้นมะปรางต้องการน้ำในการเจริญเติบโตของผลและถ้ามีการขาดน้ำทำให้ผลมีขนาดเล็กผลร่วงและให้ผลผลิตต่ำ
อุณหภูมิอุณหภูมิเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการแทงช่อดอกการติดผลและระยะเวลาการสุกของผลมะปรางแหล่งปลูกมะปรางที่ได้ผลดีนั้นควรมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยตลอดปีอยู่ในช่วง20-30องศาเซลเซียสแสงมะปรางเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ทั้งที่มีแสงแดดรำไร(แสงแดด50เปอร์เซ็นต์)จนถึงแสงแดดกลางแจ้ง (แสงแดด100เปอร์เซ็นต์)
ความสูงและเส้นละติจูดมะปรางเป็นไม้ผลที่สามารถเจริญเติบโตได้ในความสูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงความสูงระดับ1000เมตรแต่ความสูงที่เหมาะสมในการปลุกมะปรางนั้นไม่ควรสูงเกิน600เมตรซึ่งถ้าสูงเกินมะปรางจะไม่ออกดอกให้ผลผลิตต่ำนอกจากนี้ความสูงของพื้นที่มีอิทธิพลต่อระยะเวลาการออกดอกของมะปรางคือทุกๆความสูง130เมตรมะปรางจะออกดอกช้าไป4วันดินมะปรางสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพดินปลุกหลายชนิดแต่ถ้าจะให้ดีที่สุดควรเป็นดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์มีหน้าดินลึกมีความเป็นกรด-ด่างอยู่ระหว่าง5.5-7.5
การเตรียมดินและการปลูกมะปรางการขุดหลุมหลังจากเตรียมพื้นที่เรียบน้อยแล้วให้ขุดหลุมกว้าง75เซนติเมตรลึก100เซนติเมตรอย่างน้อยสุด50เซนติเมตร(1ศอก)แยกดินเป็น2ส่วนชั้นบนและชั้นล่างตากดินไว้15-20วันจากนั้นนำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกมาใส่ในหลุมๆละ2-3ปี๊บผสมให้เข้ากันระยะปลูกในพื้นที่ราบหรือที่ดอนควรใช้ระยะห่างระหว่างต้น8เมตร ระหว่างแถว8เมตรหรือปลูกแถวชิดระยะ4เมตรและแถว4เมตรพื้นที่1ไร่ระยะ8X8เมตรจะปลูกมะปรางได้25ต้นระยะชิด4X4เมตรจะต้องใช้ต้นพันธุ์50ต้นต่อไร่ส่วนการปลูกสวนยกร่องควรใช้ระยะปลูกระหว่างต้น6เมตรระหว่างแถว6เมตรปลูกแถวเดี่ยวใน1ไร่ปลูกได้45ต้นการเตรียมต้นพันธุ์ต้นพันธุ์ควรมีลักษณะแข็งแรงสมบูรณ์ไม่มีโรคแมลงรบกวนและมีการชำอยู่ในถุงพลาสติกสีดำหรืออยู่ในวัสดุเพาะชำอย่างน้อย2-3เดือน
ในการใส่ปุ๋ยให้ใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมักเป็นหลัก ใช้ปุ๋ยเคมีเป็นรองโดยถือว่า1.ระยะพืชกำลังเจริญเติบโตควรใช้ปุ๋ยที่มีN-P-Kในสัดส่วน1:1:1เช่นปุ๋ยเกรด15-15-15 เพื่อเสริมสร้างและทดแทนส่วนที่พืชนำไปใช้ในการแตกยอดใบกิ่งก้าน2.ระยะใกล้ออกดอกควรใช้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนของฟอสฟอรัสสูงเช่นปุ๋ยเกรด8-24-243.ระยะที่พืชติดผลแล้วให้ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุโปแตสเซียม เช่นปุ๋ยเกรด13-13-21หรือ12-17-2เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิต(ฐานเกษตรกรรม,2538)
3.การพรวนดินและคลุมโคนต้นควรหาฟางข้าวหรือเศษหญ้ามาคลุมบริเวณโคนต้นที่ทำการพรวนดินเพื่อรักษาความชื้นการพรวนดินรอบๆโคนต้นควรทำทุกปีปีละ3ครั้งคือช่วงต้นฝนปลายฤดูฝน(ต้นฤดูหนาว)และฤดูร้อน ถ้าเป็นไปได้การพรวนดินและคลุมโคนต้นนั้นควรทำพร้อมๆกันกับการใส่ปุ๋ย4.การกำจัดวัชพืชวิธีป้องกันกำจัดวัชพืชดำเนินการได้หลายวิธีได้แก่การถากหญ้ารอบโคนต้นการใช้มีดฟันหญ้าการใช้เครื่องตัดหญ้าการใช้สารเคมีคลุมวัชพืชหรือฆ่าวัชพืช
5.การพรางแสงมะปรางขึ้นได้ทั้งในที่มีแดดรำไรและในแสงแดดจ้าแต่การปลูกในที่พรางแสงจะมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าการปลุกกลางแจ้งฉะนั้นการสร้างสวนมะปรางเพื่อการค้า ในระยะ1-3ปีแรกควรมีการปลุกกล้วยเป็นพืชแซม6.การตัดแต่งกิ่งควรมีการตัดแต่งกิ่งมะปรางกิ่งที่หักกิ่งที่เป็นโรคหรือกิ่งที่แห้งตายออกทุกปีด้วย
7.การตัดแต่งผลมะปรางที่มีการออกดอกเป็นช่อยาว8-15เซนติเมตรในช่อหนึ่งอาจติดผลตั้งแต่1-5ผลควรมีการตัดแต่งผลมะปรางที่มากเกินไปออกเหลือช่อละ1ผล
8.การห่อผลวิธีห่อผลใช้กระดาษแก้วสีขาวที่ใช้ทำว่าวหรืออาจใช้กระดาษฟางสีขาวพับเป็นถุงเล็กๆนำไปห่อมะปรางตั้งแต่ผลยังเขียวการห่อผลจะต้องทำด้วยความระมัดระวัง
9.การเก็บเกี่ยวในการเก็บเกี่ยวมะปรางแต่ละครั้งไม่ว่าผลแก่หรือผลอ่อนควรเก็บเกี่ยวด้วยความระมัดระวังถ้าไม่ระวังผลมะปรางอาจจะกระทบกระเทือนผลจะช้ำวิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิตมะปรางถ้าต้นไม่สูงควรใช้กระดาษตัดเป็นฝอยปูรองก้นตะกร้าใส่มะปรางแล้วใช้กรรไกรตัดขั้วผลนำมะปรางมาใส่ถ้าต้นสูงเกินไปควรใช้บันไดปีนหรือใช้ตะกร้อสอยมะปรางเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จควรนำไปไว้ในที่ร่ม10.การบรรจุหีบห่อควรเก็บมะปรางในที่ร่มตัดผลที่มีบาดแผลมีจุดดำหรือเน่าเสียออกไม่ให้ปะปนกับผลที่ดีการส่งมะปรางไปขายตามแหล่งใหญ่ควรมีการห่อผลมะปรางด้วยทิชชูหรือตาข่ายโฟมบรรจุกล่องกระดาษ1-2กิโลกรัมเพื่อเพิ่มคุณค่าผลไม้(นรินทร์,2537)