การดูแลเมื่อถูกน้ำร้อน

ไฟไหม้และน้ำร้อนลวก อาจจะเกิดขึ้นได้หากเราไม่ระมัดระวัง ในบางครั้งอาจจะสร้างความเสียหายมากกว่าที่เราคิดโดยเฉพาะความรุนแรงจากไฟไหม้ อาจจะทำให้เกิดแผลเป็นไปตลอดยากแก่การลบเลือนได้ หากเกิดในบริเวณที่มีอวัยวะสำคัญอาจจะทำให้ร่างกายไม่เหมือนเดิม รวมไปถึงอันตรายจากการติดเชื้อที่เกิดขึ้นง่าย ดังนั้นแล้วหากเกิดไฟไหม้และน้ำร้อนลวก ควรช่วยเหลือปฐมพยาบาลให้ถูกต้องและรวดเร็วเพื่อลดความรุนแรงของบาดแผล ความรุนแรงในลักษณะทั่วไปแบ่งเป็น 3 ละดับ ขึ้นอยู่กับความกว้างความลึกของบาดแผลที่ได้รับ

ระดับ 1 มีรอยแดงเกิดขึ้นซึ่งไม่รุนแรงไม่เกิดอาการพอง ซึ่งมีผลกระทบที่ผิวหนังกำพร้าเท่านั้น ประมาณ 48 ชั่วโมงก็จะหายไปเอง ระดับ 2 มีอาการปวดแสบปวดร้อนในบริเวณที่โดน มีน้ำเหลืองไหล และผิวหนังเป็นลักษณะพองมีตุ่มใส ระดับ 3 มีบาดแผลที่มีความรุนแรงมาก จะเข้าไปผิวหนังลึกลงไปยังเส้นเลือดหรือกระดูก เส้นประสาทอาจจะได้รับผลกระทบไปด้วย ภาวะแทรกซ้อน อาการบาดเจ็บหากเป็นเพียงเล็กน้อยในระดับ 1 คงไม่น่าห่วงอะไรมากเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นระดับ 3 มักจะมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นเสมอ หากอาการรุนแรงทำให้พิการและเสียชีวิตได้ โดยทั่วไปจะมีอาการดังนี้

คัดลอกและวางโค้ดนี้ในเว็บไซต์ของคุณ

การติดเชื้อที่บาดแผล การติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายและทำให้บาดแผลอักเสบต้องดูแลเป็นพิเศษ ทางเกินหายใจ หากเกิดในบริเวณที่สำคัญ ทำให้เกิดการหายใจติดๆ ขัดๆ โดยเฉพาะที่หน้าอก เนื่องจากถูกอวัยวะที่สำคัญกระทบระบบหายใจ ช็อค เนื่องจากบาดแผลที่ใหญ่ อาการเจ็บปวดจะรุนแรงและมีการเสียเลือดจนมีอาการช็อคได้ การปฐมพยาบาล หากเราปฐมพยาบาลผู้ป่วยด้วยความถูกต้องและรวดเร็วจะทำให้ความรุนแรงบาดแผลที่ได้รับนั้นติดเชื้อได้น้อยลงหรือลดความเจ็บปวดลงได้

หากพบว่าไฟยังไหม้ที่ตัวผู้อื่นอยู่ให้รีบดับโดยเร็ว โดยหาผ้าซุบน้ำมาคลุมหรือว่าให้กลิ้งจนดับ ให้ถอดเสื้อผ้าและเครื่องประดับออก หากมีบาดแผลไม่ได้ใหญ่มีรอยไหม้ให้หาน้ำเย็บประครบเพื่อลดความแสบร้อนที่แผล ให้ล้างแผลด้วยน้ำเกลือ หากพบว่ามีอาการพองและมีน้ำอยู่ข้างในให้หาเข็มที่สะอาดเจาะไล่น้ำออกมา ล้างน้ำเกลืออีกครั้งหาผ้ามาพันเอาไว้และให้ล้างในทุกๆวัน หากมีอาการรุนแรงบาดแผลมีขนาดใหญ่ ให้ใช้ผ้าสะอาดคลุมแผล รีบนำส่งโรงพยาบาล

Facebook Comments