เลี้ยงแมงดานา เป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ครอบครัว

แมลงดานา หรือที่นิยมเรียกว่า “แมงดา” (Heteroptera) ในธรรมชาติลดจำนวนลงมาก ด้วยสภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่ไม่เอื้อต่อการขยายพันธุ์ จึงมีเกษตรกรหันมาเพาะเลี้ยงเพื่อจำหน่า ย เพราะราค าค่อนข้างสูง เป็นที่ต้องการของตลาดสำหรับทำอาหาร เช่น น้ำพริกแมงดา แมงดาทอด

สิ่งสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่ผู้เลี้ยงต้องแยกให้ออก นั่นคือการจำแนกเพศ โดยใช้ลักษณะภายนอก เช่น ขนาดลำตัว รูปร่าง กลิ่น และบริเวณท้องส่วนล่าง (trap) ซึ่งมีความแตกต่างชัดเจนระหว่างเพศผู้และเพศเมีย ลองมาทำความรู้จักแมงดานากันให้มากขึ้นดีกว่า

1.พฤติกรรมของแมงดานา

1.1 การกินอาหาร จะใช้ขาคู่หน้าจับเหยื่อแล้วดึงเข้าหาตัว ใช้จะงอยปากเจาะแทงเข้าไปภายในเนื้อเยื่อของเหยื่อ ปล่อยน้ำลายซึ่งมีสารต่อต้านการแข็งตัวของเลือดออกมา แล้วดูดกินน้ำเลี้ยงหรือเลือดภายในตัวเหยื่อจนหมดแล้วจึงปล่อยซากเหยื่อทิ้งไป อาหารของแมงดานาตามธรรมชาติได้แก่ ปลา กุ้ง ปู หอย กบ ลูกอ๊อด แมลงต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในน้ำรวมทั้งแมลงดานา และไข่ของแมลงดานาเองด้วย

1.2 การหายใจ ระยะตัวอ่อนที่เติบโตภายในน้ำจะใช้เหงือกในการหายใจ ลักษณะของเหงือกเป็นแผ่นบางๆ ยื่นออกมาจากใต้โคนขาคู่หลังข้างละหนึ่งแผ่น และตรงบริเวณปลายปล้องทุกปล้องของลำตัวยังปรากฏช่องหายใจปล้องละหนึ่งคู่

ส่วนระยะตัวเต็มวัยมีการหายใจโดยใช้ระบบท่อลม ที่ลำตัวปล้องสุดท้ายจะมีเซอร์คัสอยู่หนึ่งคู่และมีท่อหายใจ ซึ่งมีแผงขนจำนวนมากมายที่ไม่เปียกน้ำ ทำหน้าที่เป็นท่อรับอากาศ ขณะเกาะอยู่กับกิ่งไม้ในน้ำ แมลงดานาจะหายใจโดยใช้หัวจุ่มลงในน้ำ และชูให้ท่อหายใจโผล่เหนือผิวน้ำเพื่อให้ได้รับอากาศ ท่อหายใจจะหดเข้าและยื่นออกตามจังหวะการหายใจ

1.3 การผสมพันธุ์ ประมาณช่วงเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม โดยแมลงดาตัวผู้จะปล่อยสารที่มีกลิ่นฉุนมากออกมา กระตุ้นให้แมงดาเพศเมียเข้าหา จากนั้นตัวผู้จะเกาะอยู่หลังตัวเมีย และสอดปลายของส่วนท้องเข้าด้านใต้ท้องตรงตำแหน่งอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย ที่แบ่งออกมารองรับการผสมพัน ธุ์ พบว่าแมงดามีพฤติกรรมกินกันเองในทุกช่วงการเจริญเติบโต แต่เมื่อนำอาหารจำพวกลูกอ๊อด ลูกปลา สามารถแก้ปัญหาการกินกันและมีอัตราการรอดสูง

คัดลอกและวางโค้ดนี้ในเว็บไซต์ของคุณ

1.4 การวางไข่ หลังจากผสมพันธุ์แล้วประมาณ 36 วัน ตัวเมียจะวางไข่บนต้นพืชน้ำเรียงจากแถวบนลงล่าง โดยพ่นสารเหนียวคล้ายฟองสบู่ ช่วยยึดไข่ให้ติดกับต้นพืชน้ำหรือวัสดุที่วางไข่ จำนวนครั้งละประมาณ 50 ถึง 300 ฟอง ตามธรรมชาติแมงดาตัวผู้จะทำหน้าที่ดูแลรักษาไข่จนกว่าจะฟักเป็นตัวอ่อน (ป้องการตัวเมียมากินไข่)

2.การเลี้ยงแมงดาในบ่อพลาสติกเพื่อผลิตตัวอ่อน

2.1 เลือกสถานที่เหมาะสม ควรโล่งแจ้ง เงียบสงบ จากนั้นนำถังพลาสติกขนาด 1000 ลิตร มีรูระบายน้ำล้น หากระดับน้ำไม่นิ่งแมงดาจะไม่วางไข่ ปิดตาข่ายด้านบน

2.2 นำพ่อแม่พันธุ์แมงดา จำนวน 5 คู่ โดยใช้ไม้ไผ่พันด้วยตาข่ายหรือพืชน้ำให้วางไข่ จากนั้นให้อาหารประเภทลูกอ๊อด ซึ่งเป็นอาหารที่เร่งไข่ได้ดีที่สุด ฉีดพ่นน้ำในเวลากลางคืน ด้วยการเปิดสปิงเกอร์ทุกวันวันละ 2-3 ชั่วโมงตอนกลางคืน ไม่เกิน 7 วันแมลงดาจะพร้อมที่จะวางไข่

2.3 นำไข่แมลงดาไปเพาะในบ่อเพาะฟักต่อไป บ่อเพาะฟักเราจะนำไข่แมลงดา มาแขวนไว้เหนือบ่อน้ำในบ่อเพาะฟัก ประมาณ 7-8 วัน แมลงดานาก็จะฟักเป็นตัวหล่นในบ่อน้ำเป็นแมลงดานาตัวอ่อน

3.การเลี้ยงแมงดาในบ่อดิน

3.1 หลังจากได้ตัวอ่อนแมงดา ให้ทำการเตรียมบ่อดินขนาด 4*5 เมตร ลึก 1-1.5 เมตร จากนั้นหาต้นพืชเล็กๆ เช่น ต้นกก หญ้า มาปลูกภายในบ่อให้คล้ายธรรมชาติ จากนั้นทำหลังคาเพื่อบังแดด คลุมด้วยตาข่ายรอบทิศทางเพื่อป้องกันการบินหนี

3.2 ควรหาโพรงไม้มาแขวนเพื่อใช้เป็นที่อยู่ของแมงดา ให้อาหารประเภทให้อาหารจำพวกลูกอ๊อด หรือปลาซิว ลูกกุ้ง ระยะนี้ลูกแมงดานาจะกินอาหารมาก เราจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนถ่านน้ำบ่อยครั้ง แมงดานาที่จะการลอกคราบเพื่อเติบโตประมาณ 5 ครั้ง คือ

ครั้งแรกเมื่อมีอายุได้ 2 สัปดาห์ สำหรับลอกคราบครั้งที่ 2-5 ใช้เวลาครั้งละประมาณ 5-7 วัน การจับแมงดานาที่โตเต็มวัยพร้อมที่จะจับจำหน่า ย จะมีอายุประมาณ 50-60 วัน

4.ช่องทางการตลา ด

ความต้องการแมงดานาในตลาดค่อนข้างสูง ราค าตัวผู้(ที่มีกลิ่นฉุน) ตัวละ 10-12 บาท ส่วนตัวเมีย ตัวละ 7-10 บาท ทำให้เป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการมีรา ยได้เสริม แต่อย่างไรก็ตามคนที่จะเพาะเลี้ยง ต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติของแมงดา ซึ่งจะสามารถผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดได้นั่นเอง

ขอบคุณที่มา: Kasettumkin.com, Sarakaset.com

Facebook Comments