5 เคล็ดลับ การบริหารลูกน้องให้อยู่หมัด

คงจะเป็นเรื่องยาก สำหรับการใช้ ชีวิตในการทำงาน ให้ราบรื่นในทุกวัน ในแต่ละวัน มักจะมีหลากหลายปัญหา ให้แก้ไข หากเป็น ปัญหาเรื่องงาน ยังพอทน แต่ถ้าเป็น ปัญหาเรื่องคน นี่สิ!!! ต้องปวดหัว ลำบากใจ เพราะต่างคนก็ต่างสไตล์หลากหลายอารมณ์ วันนี้เรามี ” 5 เคล็ดลับ การบริหารลูกน้อง ” มาฝากให้หลายๆคนที่กำลังกลุ้ม ให้เอาชนะใจลูกน้อง ของตนเองให้อยู่มัด … ตามไปดูเลยว่าต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง

1.ใช้สติมากกว่าใช้อารมณ์ เรามักจะเห็นคนสาดอารมณ์ใส่กันบ่อย ๆ ใช่ไหม ซึ่งนั่นไม่เคยได้ผลดีเลยสักครั้งใช่รึเปล่า ฉะนั้นในชีวิตการทำงานคุณต้องใช้สติให้มาก เพราะการใช้อารมณ์นอกจากจะลดความน่าเชื่อถือในตัวคุณลงไปแล้ว มันยังจะทำให้คุณเสียสุขภาพจิตเป็นคนหงุดหงิดตลอดเวลา แล้วแบบนี้ไม่ว่าเจ้านายหรือลูกน้อง ก็ไม่อยากจะเข้าใกล้คุณแล้วละ

2. ทำความเข้าใจกับคนหลายสไตล์ ในเมื่อร้อยพ่อพันแม่มารวมตัวนั่นหมายความว่าต่างคนก็มีอะไรที่แตกต่างกันไป ชีวิตการทำงานคุณจะเจอเจ้านายและลูกน้องในรูปแบบที่ไม่มีซ้ำเลยละ ฉะนั้นการที่คุณจะทำให้เจ้านายหรือลูกน้องอยู่หมัดนั้น ต้องเริ่มจากการที่คุณต้องเปิดใจให้กว้างเพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจกับคนแต่ละสไตล์ เมื่อคุณเข้าใจเขา จากนั้นอะไร ๆ ก็ง่ายขึ้น

คัดลอกและวางโค้ดนี้ในเว็บไซต์ของคุณ

3. ทำมากกว่าพูด การที่เราจะบริหารเจ้านายหรือว่าลูกน้องนั้นอย่าเพียงแต่ใช้คำพูด แต่ต้องใช้การกระทำของเราเองด้วย สำหรับลูกน้องทำและแสดงผลงานให้เจ้านายหรือเพื่อนร่วมงานได้เห็น
สำหรับเจ้านายนั้นทำตนเองให้เป็นต้นแบบที่ดีด้วยการสร้างผลงาน อย่าเอาแต่พูดลอย ๆ ว่าทำได้ ทำเป็น แต่ขอให้โชว์มันออกมา คุณเคยได้ยินไหมว่า “ตัวอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคำสอน” ฉะนั้นหากคุณทำได้ แล้วใครจะกล้าขัดจริงไหม

4. อย่าชวนทะเลาะ การบริหารไม่ใช่การบงการ การบริหารไม่ใช่การเอาชนะหรือว่าใครอยู่เหนือกว่าใคร ฉะนั้นในโลกของการทำงาน ไม่ว่าอีกฝ่ายจะเป็นเจ้านายหรือลูกน้อง
อย่าใช้ความรู้สึกส่วนตัวเป็นชนวนให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง เพราะเมื่อไหร่ที่คุณทะเลาะกันในที่ทำงานพื้นที่ตรงนั้นมันจะกลายเป็นสงครามประสาท จะเกิดการแยกข้าง ซึ่งนั่นหมายความว่าคุณอาจจะสูญเสียความเชื่อมั่นที่หลายคนเคยมีต่อคุณไปก็ได้

5. รู้สึกกับทุกคนเป็นเพื่อนร่วมงาน ในการทำงานนั้นย่อมมีตำแหน่งที่สูงหรือต่ำกว่า ฉะนั้นการบริหารคนควรเริ่มจากการบริหารความรู้สึกของเรา โดยการรู้จักให้เกียรติทุกคนเท่าเทียมกันในฐานะเพื่อนร่วมงานโดยเฉพาะถ้าเราอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่า ก็จงปฏิบัติกับคนที่อยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าอย่างเพื่อนร่วมงาน ไม่ใช่ลูกน้อง มีความเคารพในความเท่าเทียมกันของแต่ละบุคคล เป็นกันเอง ไม่ทำให้บรรยากาศในการทำงานดูเกร็ง และตึงเครียดจนเกินไป ถ้าคุณทำได้บรรยากาศในที่ทำงานจะดูสบายขึ้นเยอะเลย

Facebook Comments