คนเราทุกคนล้วนมีความสับสน มึนงงกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเรื่องใดใดก็ตามแต่ แต่สิ่งที่สำคัญคือคุณจะแก้ปัญหาก้าวผ่านมันไปได้ด้วยวิธีใดกับคำถามที่ว่า ” คุณรับมือกับความสับสนอย่างไร ” วิธีที่ดีคือการรู้จักวางแผน, และพัฒนาตัวเองให้เกิดประโยชน์ โดยเราสามารถนำไปใช้ในการรับมือกับการเรียน, การทำงาน หรือแม้แต่ในชีวิตประจำวันได้ด้วย ตามไปดูกันเลยคะ ^^
1.รักษาความกระตือรือร้นและความแข็งแกร่งของตัวเองไว้ให้ได้ เพราะมันจะทำให้เรามีโอกาสในอนาคตมากกว่าเดิม อีกทั้งยังทำให้เรามั่นใจว่าอะไรคือสิ่งที่เราต้องการหรืออยากจะพัฒนา และทำให้เราเริ่มต้นทำในสิ่งที่ใช่สำหรับเรา
2. หาว่าอะไรคือสิ่งที่เราสนใจอยากจะเรียนรู้ ลองตั้งคำถามตัวกับตัวเองดูว่าอะไรคือสิ่งที่เราสนใจและอยากเรียนรู้เพิ่ม นอกจากนี้ยังสามารถเอาเรื่องนี้ไปถามอาจารย์, พ่อแม่, รุ่นพี่หรือแม้แต่เพื่อน
3.มุ่งเน้นไปยังเรื่องๆเดียว ในช่วงเวลาหนึ่ง ควรจะมุ่งเป้าในการทำสิ่งๆเดียว อย่าทำหลายๆอย่างพร้อมๆกัน เพราะโอกาสเกิดความสับสนมีสูงมาก นอกจากนี้ ในขณะเดียวกัน เราอาจจะต้องเอาชนะพฤติกรรมแย่ๆหรือจุดอ่อนของตัวเองให้ได้ด้วย
4.พยายามทำในสิ่งที่เลือกแล้วให้ดี เมื่อใดก็ตามเราได้เลือกสิ่งที่เราทำแล้ว ก็จงตั้งมั่นอยู่กับมันตลอด อย่าปล่อยให้พฤติกรรมแย่ๆหรือความอยากอื่นๆ มาทำให้เราล้มเลิกความตั้งใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียน, อาชีพหรือแม้แต่งานอดิเรก
5.พัฒนาตัวเองตลอดเวลาเพื่อสร้างโอกาส ไม่ว่าจะเรื่องอะไร อย่าปล่อยให้ตัวเองอยู่กับที่ ถึงแม้ว่าเราจะรู้สึกว่าเราเก่งกับเรื่องๆนั้นแล้วก็ตาม เพราะมันจะทำให้เราชะล่าใจและอาจจะนำไปสู่การถอยหลัง จนพัฒนาไม่ทันคนอื่นๆ
6.ห้ามล้มเลิกกลางคัน เพราะว่าถ้าเราเกิดล้มเลิกหรือหยุดทำสิ่งใดๆที่เราได้เลือกไปแล้วกลางคัน เราก็ไม่มีวันเข้าใจหรือรู้ว่าสิ่งนั้นๆเป็นอย่างไรและมันดีหรือแย่กับเราหรือไม่ ดังนั้น อย่ากังวลถ้าเราไม่เข้าใจในสิ่งที่ทำในช่วงแรก เพราะทุกอย่างย่อมมีครั้งแรก ขอเพียงแค่เราหายใจเข้าลึกๆ และทำต่อไปอย่างตั้งใจ เชื่อเถอะว่าทุกอย่างย่อมเป็นไปได้ด้วยดี
7.สร้างสรรค์และพัฒนาความแข็งแกร่งของเรา จงเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเอง และนำพลังนั้นมาสร้างสรรค์และพัฒนาความแข็งแกร่งของเราให้มั่นคงและยั่งยืน จงขอบคุณที่ตัวเองมีโอกาสดีๆและใช้มันอย่างถูกต้อง
8.ทำตามแผนที่วางไว้ หยุดที่จะคิดกังวลหรือฟุ้งซ่าน เพราะมันจะทำให้เราสับสนกับสิ่งที่เราทำอยู่ จงทำทุกอย่างอย่างมีแบบแผนและต่อเนื่อง เพราะว่าในอนาคตเมื่อเราออกไปทำงาน นายจ้างทุกคนต่างก็อยากเห็นว่าเราเป็นคนที่มีความกระตือรือร้น และพัฒนาตัวเองอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่คำที่เขียนลงในใบสมัครเท่านั้น